อีคอมเมิร์ซ

ข้อสรุปของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 2 เดือนแรกของปี 2567 มีการจดทะเบียนผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ จำนวน 479 ราย สูงกว่าปี 2566 ใน 2 เดือนเดียวกัน 116 ราย เพิ่ม 31.98% จะบอกว่าบริษัทเหล่านี้ เป็นพวกค้าปลีก ทั้งหมด คงไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก ผมว่าหลายอาชีพ มีทั้งขายและให้บริการ รวมๆ กันตีความโดยส่วนใหญ่ คือการค้าผ่านระบบออนไลน์ ทั้งระบบ

ทำไมถึงมีการจดทะเบียนแบบก้าวกระโดด จริงๆ คนในวงการนี้มีทั้งเลิกกิจการ ไม่ไปต่อ ค้าขายยาก แข่งราคากับสินค้าจีนไม่ไหว ก็เยอะ แต่บางส่วนยังประคองตัวอยู่ได้ หาสินค้าหลากหลายขึ้น ในรูปแบบบริการก็ไม่ใช่น้อย เหมือนจะเป็นการขายปลีก แต่จริงๆ เขาอยู่ในรูปบบบริการมากกว่า จะไม่บอกตัวสินค้าหรือบริการนะครับอยู่ในมือของที่นี่ก็ไม่ใช่น้อย

ส่วนใหญ่จะก้าวเข้ามาจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนิติบุคคล โดยส่วนใหญ่เพราะกลัวภาษีย้อนหลัง ทั้งศุลกากร และสรรพากร เครื่องมือเครื่องไม้ของหน่วยงานรัฐ 2 หน่วยนี้มีมากขึ้นทันสมัยมากขึ้น ข้อมูลมากขึ้นเพราะมีการวางระบบการจัดเก็บ การมองเห็นรายได้จากผู้ประกอบการบนออนไลน์ โดยเฉพาะจากอธิบดีกรมสรรพากร  3-4 คนในอดีต

เริ่มจากสมัย คุณประสงค์ พูนธเนศ ที่มักจะเข้าไปพูดคุยกับพรรคพวกเจ้าของสำนักงานบัญชี ดูรูปแบบการหนีภาษีของเหล่าผู้ค้าทั้งระบบ  รวมทั้งพวกขายบนออนไลน์

จนมาถึง คุณเอกนิติ นิติฑัณฑ์ประภาศ ที่วางระบบเครื่องมือเครื่องไม้บนออนไลน์ ระบบไอที ทำให้สรรพากรมองเห็นข้อมูลมากขึ้น แล้วก็มาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ในยุคอธิบดีกรมสรรพากร 2 คนหลัง ทั้ง คุณลวรณ แสงสนิท ที่ขอข้อมูลจาก Marketplace จะเรียกว่าขอก็คงไม่ใช่ แต่เป็นการบังคับให้ส่งข้อมูลให้สรรพากร เป็นค่าการขายที่ Marketplace ได้รับ จากแต่ละร้านค้า ทำให้มีการเรียกภาษีย้อนหลังกันยกใหญ่ถึง 5 ปี จนมาถึง คุณกุลยา ตันติเตมิท เริ่มมีข่าวจะมีการขอข้อมูลจากบริษัทขนส่ง จริงๆ ผมประเมินมากว่า 3 ปีแล้วสรรพากรยังไงก็ต้องขอข้อมูลจากบริษัทขนส่ง เพราะการค้าบนออนไลน์ ระบบขนส่งคือตัวกลางสำคัญที่สุด ที่จะมีข้อมูลเกือบทั้งหมด

ตอนนี้ผู้ค้าบนออนไลน์ ทั้งรูปแบบค้าปลีก และบริการ ก็พากันหวาดเสียว เจอภาษีย้อนหลัง

งบประมาณปี 2567 จำนวน 3.48 ล้านล้านที่ยังไม่ได้ออกมาใช้ มาแบบล่าช้ามาก ณ เดือนมีนาคม ขาดดุลถึง 6.93 แสนล้าน เพื่อให้ขยับขาดดุลน้อยลงก็ต้องพึ่งพา 3 กรมภาษีใหญ่ กรมสรรพากร ศุลกากร สรรพสามิต

เฉพาะกรมสรรพากร ถูกตั้งเป้าจัดเก็บรายได้ถึง 2.27 ล้านในจำนวนนี้ ว่ากันว่า 50% บวกลบ เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากมาจากภาษีเงินได้นิติบุคคล บุคคลธรรมดา อากรสแตมป์ และค่าธรรมเนียมอย่างอื่นอีกนิดหน่อย ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายได้หลักของกรมสรรพากร จะจัดเก็บจากไหน ถ้าไม่จัดเก็บพวกค้าขายบนออนไลน์ ไม่ว่าขายปลีก ขายส่ง หรือรูปแบบบริการ

ในอดีตการจัดเก็บภาษีผู้ค้าบนออนไลน์ ทำได้ยากเพราะเครื่องมือเครื่องไม้น้อยใช้วิธีการล่อซื้อผู้ค้าออนไลน์ ปัจจุบัน วิวัฒนาการเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน ระบบ AI ก็เปลี่ยน

เป็นที่มาของคนที่ยังเคยหลบๆ ซ่อนๆ ที่เคยคิดว่าสรรพากรจะไม่พบเจอก็เริ่มหวาดกลัวมากขึ้น

นอกจากนั้น เป็นที่ปวดเศียรเวียนเกล้ามาก เหล่าผู้รู้ไม่จริงพูดคุยกันเอง บอกถ้าจดทะเบียนนิติบุคคลน่ากลัว จะทำให้สรรพากรมองเห็นเราชัดขึ้น แล้วก็เชื่อกันเป็นตุเป็นตะ ไม่มีข้อเท็จจริง ลูกค้ามาเล่าให้ฟังกันเอง ผมยังบอกแล้วแต่ครับให้เขาเชื่อกันไป

ปัจจุบันสรรพากรตั้งเป้ากับบุคคลธรรมดามากกว่าเสียด้วยซ้ำ ที่ยังไม่เข้าระบบตามความคิดผมนะ เพราะประเมินได้เลยบุคคลธรรมดา หนีภาษีร้อยเปอร์เซนต์ เวลาถูกเรียกจะโดนค่อนข้างหนัก

เพราะการเป็นนิติบุคคล ถือว่าเข้ามาในระบบมากขึ้น มีนักบัญชี เป็นตัวกลาง ผู้สอบบัญชี เป็นตัวกรอง ระหว่างผู้ขาย ผู้มีรายได้ กับ สรรพากร หน่วยจัดเก็บภาษี อย่างน้อยสรรพากรเขาถือว่าเขายังได้ผลงานบ้างจากที่ถูกหน่วยเหนือตั้งเป้าเป็นลำดับขั้น

ผมเคยคุยกับผู้ที่เคยเข้ามาพูดคุยหลายราย อย่าไปเชื่อมากเสียงพูดคุยกันภายนอกรู้จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้

คนรู้จริงเขาจะมาบอกเหรอ บุคคลธรรมดา จะไม่ถูกตรวจสอบ อันนั้นความฝันครับไม่ใช่ความจริง

บันทึกไว้ 6 มีนาคม 2567

สาม สอเสือ